รวมคำตอบ! คุณสมบัติสายไฟที่ดีและวิธีการเลือกใช้ที่เหมาะสม

ลักษณะของวัสดุที่บ่งบอกว่าเป็นคุณสมบัติสายไฟที่ดี

เพราะสิ่งรอบตัวส่วนใหญ่ล้วนเป็นข้าวของเครื่องใช้ที่ต้องขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในการทำงาน ทำให้ "สายไฟ" กลายเป็นสิ่งสำคัญที่จะมองข้ามไปไม่ได้ เพราะนอกจากจะทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้ว ยังมีเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งานเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย แต่คุณสมบัติของสายไฟที่ดีจะต้องเป็นอย่างไร? เราได้รวบรวมมาตอบในรูปแบบของ Q&A เพื่อให้คุณสามารถใช้บทความนี้เป็นคู่มือวิธีเลือกสายไฟได้ในทุกโอกาส!

คุณสมบัติของสายไฟที่ดี ต้องทำมาจากวัสดุอะไร?

คุณสมบัติสายไฟที่ดี เป็นเรื่องสำคัญที่ขึ้นตรงต่อคุณภาพและความปลอดภัยในการใช้งาน ทำให้การเลือก สายไฟ กลายเป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการติดตั้งภายในบ้านและอาคาร เพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดเหตุขัดข้องทางไฟฟ้า ที่จะนำไปสู่อันตรายต่อร่างกายและทรัพย์สินได้

โดยคุณสมบัติที่บ่งบอกถึงคุณภาพของสายไฟที่ตรงตามมาตรฐาน สามารถวัดได้จาก วัสดุ ที่ใช้ผลิตเป็นหลัก เนื่องจากเป็นส่วนประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสายไฟโดยเฉพาะ โดยจะสามารถจำกัดความได้ ดังนี้

1. ทำจากวัสดุที่มีค่าความต้านทานต่อหน่วยความยาวต่ำ

สามารถอธิบายได้ว่า คุณสมบัติสายไฟที่ดีจะต้องทำจากวัสดุที่มีค่าความต้านทานต่อหน่วยความยาวต่ำ เพื่อให้สามารถส่งผ่านกระแสไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำไฟฟ้าได้ดี นอกจากนี้ยังควรเลือกสายไฟที่เป็นทองแดงบริสุทธิ์ 99.99% เพื่อให้ส่งเสริมกันในด้านของความสามารถการนำไฟฟ้า ตลอดจนการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน

2. ตัวนำไฟฟ้าต้องได้มาตรฐาน

สายไฟที่ดีและมีมาตรฐาน จะต้องทำมาจากตัวนำไฟฟ้าที่มีคุณภาพ โดยตัวนำที่นิยมใช้มักจะเป็นทองแดงและอะลูมิเนียม ซึ่งโลหะทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกันในเชิงของคุณสมบัติความทนทาน และความสามารถในการนำไฟฟ้า สามารถอธิบายได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • ทองแดง เป็นโลหะที่แข็งแรง เหนียว ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี ทั้งยังมีคุณสมบัติด้านการนำไฟฟ้าสูงมาก ในขณะเดียวกันก็เป็นตัวนำไฟฟ้าที่มีน้ำหนักสูง ส่งผลให้สายไฟมีราคาค่อนข้างแพงกว่าการใช้ตัวนำโลหะชนิดอื่น ๆ จึงไม่เหมาะกับการใช้งานไฟฟ้าแรงดันสูง แต่จะเหมาะกับการใช้งานสายไฟฟ้าโดยทั่วไป โดยเฉพาะสายไฟฟ้าในอาคาร
  • อะลูมิเนียม เป็นโลหะที่มีน้ำหนักเบา แต่สามารถนำไฟฟ้าได้ดีรองลงมาจากทองแดง ทำให้สายไฟประเภทนี้ได้รับความนิยม เพราะมีราคาที่ถูกกว่าสายไฟทองแดง นิยมนำไปใช้กับงานเดินสายไฟนอกอาคารและงานไฟฟ้าแรงดันสูง

จะเห็นได้ว่าตัวนำไฟฟ้าที่แตกต่างก็มีจะมีความเหมาะสมกับการใช้งานในสถานที่ที่แตกต่างกันออกไป ฉะนั้น ถ้าหากเลือกสายไฟ โดยขาดการพิจารณาในส่วนนี้ ก็อาจจะทำให้เกิดโอกาสไฟฟ้าลัดวงจรได้ง่ายหลังจากการใช้งาน

3. ต้องเป็นฉนวนเกรดพรีเมียม

เพราะฉนวนมีหน้าที่ป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าสู่ผู้ใช้งาน ดังนั้นการเลือกสายไฟที่ดีจะต้องมีฉนวนที่ได้มาตรฐาน เป็นเกรดพรีเมียม ซึ่งการันตีถึงความทนทาน และทนความร้อนได้เป็นอย่างดี พร้อมช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่เกิดจากไฟฟ้า อย่างไฟดูด ไฟช็อต ไฟไหม้ จากไฟฟ้าลัดวงจรได้อย่างมั่นใจ

4. ได้รับมาตรฐานความปลอดภัยจาก มอก. และจากระดับสากล

ปิดท้ายคุณสมบัติสายไฟที่ดี ด้วยการการันตีจากมาตรฐานความปลอดภัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. ของไทย หรือแม้กระทั่งสัญลักษณ์มาตรฐานสากล อย่าง SGS, IEC, BASEC, UL หรือ CSA ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกนั่นเอง

ฉนวนหุ้มแบบไหนที่ไว้วางใจในการใช้งานได้?

เพราะฉนวนหุ้มเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า ทำให้การทำความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดของฉนวน กลายเป็นเรื่องสำคัญที่แม้กระทั่งผู้ใช้งานทั่วไปก็ควรต้องรู้ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ตรวจสอบสายไฟภายในบ้านว่า สามารถป้องกันกระแสและทนต่อแรงดันไฟฟ้าได้จริงหรือไม่ โดยชนิดของฉนวนหุ้มที่ควรรู้จักก็มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ดังนี้

  • PVC (Polyvinyl Chloride) มีความนุ่ม ยืดหยุ่น และอ่อนตัวได้เป็นอย่างดี เป็นที่นิยมในการใช้หุ้มสายไฟฟ้าแบบแรงดันต่ำ ป้องกันการลุกไหม้จากไฟได้อย่างดี ทนความร้อนสูงสุด 70 องศาเซลเซียส ถือเป็นฉนวนสายไฟที่นิยมใช้ภายในอาคารหรือบ้านเรือน
  • XLPE (Cross-linked Polyethylene) นิยมใช้หุ้มสายไฟฟ้าที่มีความแข็งแรงและทนความร้อนได้สูงถึง 90 องศาเซลเซียส ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นคุณสมบัติที่เหนือกว่าฉนวน PVC อยู่มาก ทำให้นิยมนำไปใช้สำหรับสายไฟแรงดันสูง

วิธีเลือกสายไฟให้เหมาะกับการใช้งานฉบับง่าย!

ดังที่กล่าวไปในข้างต้น ถึงความปลอดภัยที่ขึ้นตรงอยู่กับการใช้ สายไฟที่มีคุณภาพ เพราะมีหน้าที่เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดมาสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าและหลอดไฟภายในบ้านพัก ดังนั้น การศึกษาวิธีเลือกสายไฟให้เหมาะสมกับการใช้งาน จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ใช้งานทั่วไปไม่ควรละเลย โดยวิธีการเลือกก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเราสรุปแบบเข้าใจง่ายมาให้ทั้งหมดด้วยกัน 4 ข้อ ดังนี้

1. เลือกสายที่ผ่านมาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐาน มอก.

ตามการอ้างอิงจากหัวข้อคุณสมบัติสายไฟที่ดี จะพบว่าหนึ่งในคำจำกัดความจะมีเรื่องของ มาตรฐานสายไฟ อยู่ด้วย ส่งผลให้ในขั้นตอนการเลือกซื้อ ผู้ใช้งานจึงต้องสังเกตจากสัญลักษณ์ของมาตรฐานที่รองรับเป็นหลัก

โดยกำหนดให้สายไฟที่ปลอดภัยต่อการใช้งาน ควรเป็นสายไฟที่มีสัญลักษณ์ มอก. ซึ่งได้รับการยอมรับในมาตรฐานอุตสาหกรรม เป็นการการันตีแล้วว่าสายไฟดังกล่าวได้ผ่านการทดสอบมาเป็นอย่างดี และมีคุณภาพเพียงพอที่จะนำไปใช้งานจริงได้ โดยไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงด้านไฟฟ้า

2. เลือกชนิดของสายไฟให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมในการติดตั้ง

หลายคนอาจเข้าใจว่าสายไฟ ชนิดเดียวกัน สามารถนำไปใช้งานได้ในทุกจุด ซึ่งนั่นถือเป็นความเข้าใจผิดที่กระทบต่อขั้นตอนการเลือกซื้อ และส่งผลให้เกิดอันตรายได้หลังจากติดตั้งใช้งาน ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยให้ท่องจำเอาไว้เสมอเลยว่า ควรเลือกชนิดสายไฟให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการติดตั้งเสมอ เพราะคุณสมบัติที่เฉพาะตัวของสายไฟแต่ละชนิด ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเอื้อต่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ และการรักษาสภาพสายไฟให้สมบูรณ์แบบเมื่อติดตั้งและใช้งาน

ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการเดินสายไฟภายนอกอาคาร ควรมองหาสายไฟชนิด THW, THW-A, CV และ NYY ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ทั้งยังทนแรงดันไฟฟ้าและความร้อนได้สูง แต่สำหรับกรณีที่ต้องการมองหาสายไฟสำหรับใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าก็ให้ใช้สายไฟ VAF หรือ VCT ที่ออกแบบมารองรับการเดินลอยตีกิ๊บ ร้อยท่อ อีกทั้งยังสามารถทนความร้อน และรับแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ดีอีกด้วย

3. ให้ความสำคัญกับ สายไฟแข็ง และ สายไฟอ่อน

เพื่อลดโอกาสในการชำรุดของสายไฟ การพิจารณาจากวิธีการติดตั้งประกอบการเลือกซื้อสายไฟ จึงเป็นขั้นตอนที่ไม่ควรมองข้าม เพราะลักษณะการติดตั้งส่งผลโดยตรงต่อสวัสดิภาพของสายไฟ อาทิ การติดตั้งระบบไฟฟ้าแบบถาวร ตายตัว ทำให้การใช้ สายไฟแข็ง เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม โดยนิยมใช้กับงานระบบสายไฟสำหรับที่พักอาศัยและเชิงพาณิชย์ โดยจะติดตั้งภายในผนัง เพดาน หรือระบบท่อร้อยสาย

ในขณะเดียวกัน หากต้องการติดตั้งสายไฟแบบเดินยึดกับผนังหรือผ่านบริเวณสายกดทับ รวมไปถึงการใช้งานแบบชั่วคราวที่มีการเคลื่อนย้ายบ่อย ๆ ก็ควรเลือกใช้ สายไฟอ่อน ที่มีคุณสมบัติในการดัดงอได้ดี อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นกว่า จึงรองรับการเดินลอยตีกิ๊บ ร้อยท่อได้อย่างปลอดภัย มักใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องจักรที่มีการสั่นสะเทือนสูง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น

4. เลือกคุณสมบัติสายไฟให้เหมาะกับแรงดันไฟฟ้า

ปิดท้ายวิธีเลือกสายไฟด้วยการพิจารณาจากขนาดแรงดันของสายไฟฟ้า โดยควรเลือกให้เหมาะสมกับทั้งแรงดันและปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้งาน เพื่อให้สอดคล้องกับขนาดของฟิวส์หรือเบรกเกอร์ ลดปัญหาไฟตก ไฟส่งไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่พอไปได้อย่างแน่นอน

หลังจากที่ได้รู้กันไปแล้วว่าคุณสมบัติสายไฟที่ดีเป็นอย่างไร และมีความสำคัญแค่ไหนถึงต้องเลือกซื้อให้ตอบโจทย์การใช้งาน หากใครที่ตระหนักแล้วถึงข้อเท็จจริงในส่วนนี้ ทั้งยังกำลังมองหาสายไฟคุณภาพดีที่ตรงตามมาตรฐาน เชิญมาเลือกได้ที่ STS Thonburi บริษัทขายส่งสายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด และเป็นตัวแทนจำหน่ายที่รับมาจากโรงงานสายไฟโดยตรงไม่ว่าจะเป็น Thai Union, PKS และ FUHRER พร้อมบริการจัดส่งทั่วประเทศ

Line: @sts7744 (มี@)
เพิ่มเพื่อน

 

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. ทำไมเราต้องเลือกสายไฟที่มีคุณภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566 จาก https://www.sbkelectric.com/phelpsdodgecable
  2. ฉนวนสายไฟ มีกี่ชนิด?. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566 จาก https://www.changfi.com/fix/2022/06/24/ฉนวนสายไฟ-มีกี่ชนิด/ 
  3. The difference between hard wire and soft wire. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 จาก https://www.zhongweicables.com/news/the-difference-between-hard-wire-and-soft-wire/ 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้